7.12.52

โครงการกองทุนครูอาสาสานฝันปันรัก

หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากโรงเรียนบ้านภูงามโนนสะอาด เปิดทำการสอนในระดับชั้น อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยความต้องการของชุมชน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2549 ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำตราสารเพื่อจัดตั้งโรงเรียน จึงยังขาดหน่วยงานต้นสังกัดที่ชัดเจน รวมถึงไม่มีงบประมาณสำหรับครูผู้สอน
กองทุนครูอาสาสานฝันปันรัก จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือคณะครูอาสาในเรื่องของค่าครองชีพ และการศึกษาต่อ เพราะคณะครูอาสาเป็นกำลังสำคัญทั้งในปัจจุบัน และอนาคตโรงเรียน ที่มักจะถูกมองข้าม กลุ่มบุคคลต่างๆ มักจะช่วยสร้างอาคาร และบริจาคสิ่งของ แต่มีน้อยคนมากที่จะคิดถึงครูอาสา ทั้งๆที่โรงเรียนนี้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่เรียบง่ายว่า “มีครูอาสาโรงเรียนก็ยังอยู่ วันใดขาดครูโรงเรียนก็ร้าง”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนค่าครองชีพครูอาสา
2. เพื่อส่งเสริมให้ครูอาสาศึกษาต่อจนได้ใบประกอบวิชาชีพครู
3. เพื่อเป็นงบประมาณสนับสนุนโครงการต่างๆของโรงเรียน ได้แก่ โครงการอาหารกลางวัน, จักรยานยืมเรียน, เกษตรกรรมเพื่อกาพึ่งพาตนเอง, หนังสือ, อุปกรณ์การเรียน, สื่อการสอน ฯลฯ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายผู้รับผลประโยชน์จากกองทุน
1. ครูอาสา จำนวน 16 คน
2. นักรียนโรงเรียนบ้านภูงามโนนสะอาด จำนวนประมาณ 150 คน / ปีการศึกษา
กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริจาค ได้แก่
1. บริษัทเอกชน ห้างร้านต่างๆ
2. หน่วยงาน / มูลนิธิ
3. สมาชิกเครือคาทอลิก
4. สมาชิกกลุ่มคริสตจักร
5. กลุ่มเครือข่ายพันธมิตรของโรงเรียน
6. บุคคลทั่วไป



ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. กำหนดหลักการ นโยบาย ตลอดจนขอบข่ายของกองทุน
2. จัดทำข้อมูลต่างๆเพื่อนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริจาค
3. ประชาสัมพันธ์กองทุน โดยผ่านสื่อต่างๆ ดังนี้
สื่อวิทยุ
ทำหนังสือของความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุดังนี้
1. สื่อวิทยุชุมชน คลื่น 97.75 MHz. ( สปอตวิทยุ , สัมภาษณ์ , ผู้ดำเนินรายการประชาสัมพันธ์ )
2. สื่อวิทยุชุมชน City Radio 107.75 MHz. ( สปอตวิทยุ , สัมภาษณ์ , ผู้ดำเนินรายการประชาสัมพันธ์ )
3. สื่อวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสระแก้ว , ฉะเชิงเทรา (ข่าวฝากประชาสัมพันธ์, สัมภาษณ์ )
4. สื่อวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (สัมภาษณ์)
5. สื่อวิทยุ สวพ.91 (สัมภาษณ์)
สื่อโทรทัศน์
ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ช่วยประชาสัมพันธ์ทางรายการต่อไปนี้
1. รายการสถานีประชาชน NBT
2. รายการร่วมมือร่วมใจ NBT
3. รายการเจาะใจ ช่อง 5
4. รายการที่นี่หมอชิต ช่อง 7
5. รายการตีสิบ ช่อง3
6. รายการคนค้นคน ช่อง NBT
สื่อสิ่งพิมพ์
จัดทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อส่งให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยประมาณการจำนวนแผ่นพับที่จัดพิมพ์ภายใน 1 ปี ทั้งสิ้น 5,000 แผ่น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. บริษัทเอกชน / ห้างร้านต่างๆ จำนวน 1,000 แผ่น
2. หน่วยงาน / มูลนิธิ จำนวน 500 แผ่น
3. สมชิกเครือคาทอลิก จำนวน 1,000 แผ่น
4. สมาชิกกลุ่มคริสตจักร จำนวน 1,000 แผ่น
5. กลุ่มเครือข่ายพันธมิตรของโรงเรียน 500 แผ่น
6. บุคคลทั่วไป จำนวน 1,000 แผ่น


สื่อวีดิทัศน์
จัดทำสื่อวีดิทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์โรงเรียนและโครงการ ครูอาสาสานฝันปันรัก จำนวน 500 แผ่น เพื่อเผยแพร่ยังกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1. บริษัทเอกชน / ห้างร้านต่างๆ จำนวน 100 แผ่น
2. หน่วยงาน / มูลนิธิ จำนวน 50 แผ่น
3. สมาชิกเครือคาทอลิก จำนวน 100 แผ่น
4. สมาชิกกลุ่มคริสตจักร จำนวน 100 แผ่น
5. กลุ่มเครือข่ายพันธมิตรของโรงเรียน 30 แผ่น
6. บุคคลทั่วไป จำนวน 120 แผ่น
4. จัดส่งจดหมายขอความอนุเคราะห์ร่วมบริจาคเงินสมทบกองทุน ไปยังกลุ่มเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้
5. จัดทำหนังสือขอบคุณ , อนุโมทนาบัตร แก่ผู้ให้ความอนุเคราะห์
6. บริหารจัดการกองทุนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
7. ประชุมติดตามผลทุก 1 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป
สถานที่
โรงเรียนบ้านภูงามโนนสะอาด หมู่ 18 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
งบประมาณ
ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาโครงการ 1 ปี เป็นเงิน 32,500 บาท โดยแบ่งเป็น
1. แผ่นพับ จำนวน 5,000 แผ่น เป็นเงิน 10,000 บาท
2. แผ่นซีดีประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 500 แผ่น เป็นเงิน 2,500 บาท
3. ค่าจัดส่งเอกสาร เป็นเงิน 10,000 บาท
4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน 10,000 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. บาทหลวงประสิทธิ์ ตันเจริญ ประธานโครงการ
2. นายพันธยุทธ ผิวแก้ว รองประธานโครงการและประสานงาน
3. นายประชา คำพรม ฝ่ายศิลป์
4. นางสาววิชาดา สาหนองหม้อ เหรัญญิก / บัญชี
5. นางสาวยุวดี ปั้นทอง ผู้ช่วยประสานงาน
6. นางสาวหยาดพิรุณ ยอดเพชร ผู้ช่วยเหรัญญิก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครูอาสาได้รับค่าครองชีพที่เหมาะสม
2. ครูอาสามีโอกาสศึกษาต่อจนได้ใบประกอบวิชาชีพครู
3. มีงบประมาณเพียงพอเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆของโรงเรียน ได้แก่ โครงการอาหารกลางวัน, จักรยานยืมเรียน, เกษตรกรรมเพื่อกาพึ่งพาตนเอง, หนังสือ, อุปกรณ์การเรียน, สื่อการสอน ฯลฯ

การติดตามและประเมินผล
การประเมินผลระยะสั้น
ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานระยะสั้น ทุกๆ 1 เดือน โดยจะสรุปความคืบหน้าของการส่งจดหมายเพื่อขอความอนุเคราะห์ , การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ตลอดจนยอดเงินที่รับบริจาคเข้ากองทุน

การประเมินผลระยะยาว
ประชุมประเมินผลทุกๆ 1 ปี เพื่อทบทวนทิศทางและผลการดำเนินงานของกองทุน ตลอด 1 ปี เพื่อจัดทำเป็นโครงการต่อเนื่องพร้อมทั้งขยายผลสู่การจัดตั้งเป็นมูลนิธิครูอาสาสานฝันปันรักในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น